วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗ ประการ
คำว่า สัปปุริสธรรม  แปลว่า ธรรมะของคนดี หมายความว่า ผู้ใดมีธรรมเหล่านี้แล้ว  ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนดี    คนดีที่พระพุทธศาสนายกย่อง  มิได้เป็นคนงมงายหรือเป็นคนซื่อจนเซ่อ  แต่เป็นคนฉลาดมีเหตุผล  รู้จักใช้ความคิด  วางตัวได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์เหมาะสม  สัปปุริสธรรมมี  ๗ ประการ  ดังนี้
                )  อัตถัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิต
                )  ธัมมัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว
                )  อัตตัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองทั้งในด้านความรู้  คุณธรรม และความสามารถ
                )  มัตตัญญุตา คือ              ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี  การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร 
                )  กาลัญญุตา  คือ              ความเป็นรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ
                )  ปริสัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้ปฏิบัติ  การปรับและแก้ไขตนให้เหมาะกับสภาพกลุ่มและชุมชน
                )  ปุคคลัญญุตา คือ           ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
 ไตรสิกขา
                                เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด  นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน
ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก    ประการ คือ
                                                ๑.   ศีล                    การรักษากายวาจาใจให้   เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด
                                                ๒.  สมาธิ               เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ
                                                ๓.  ปัญญา             เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง  รู้ถูก  รู้ผิด

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า

ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า ๗ ประการ
                นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า)  ไว้ ๗ ประการ คือ
                                                 .   อุฎฐานะ          หมั่นขยัน
                                                ๒.  สติ                   มีความเฉลียว
                                                .  สุจิกัมมะ         การงานสะอาด
                                                ๔.  สัญญตะ          ระวังดี
                                                ๕.  นิสัมมการี      ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงธรรม
                                                ๖.  ธัมมชีวี             เลี้ยงชีพโดยธรรม
                                                ๗.  อัปปมัตตะ     ไม่ประมาท
พระพุทธโอวาท ๓
       นักบริหารที่ทำงานได้ผลดีเนื่องจากได้  ตั้งใจดี และ มือสะอาด พระพุทธองค์ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้
                                ๑.  เว้นจากทุจริต  การประพฤติชั่ว  ทางกาย  วาจา ใจ
                                ๒.  ประกอบสุจริต  ประพฤติชอบ  ทางกาย  วาจา  ใจ
                                ๓.  ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด  ไม่โลภ  ไม่โกรธ  ไม่หลง
          การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฏิบัติ  ย่อมจักนำความเจริญ  ตลอดจนความสุขกาย สบายใจให้บังเกิดแก่
ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า ธัมโม  หเว รักขติ  ธัมมจาริง ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การบริหารวัดที่ดี

การบริหารวัดที่ดี
การที่จะบริหารวัดที่ดีต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   ต้องยึดหลักพระธรรมวินัย    ต้องมีความ
เที่ยงธรรมต่อการบริหาร   หลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น     ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนับถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒๕๕๒ กว่าปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่อง ดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว    เป็นความจริงที่
สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า  สัจธรรม   ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้     จริงอยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้
เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมายมีดังต่อไปนี้
พรหมวิหาร    เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา)  ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี ๔ ประการ คือ
.  เมตตา      ความรักใคร่  ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
.  กรุณา      ความสงสาร                  คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
.  มุทิตา      ความพลอยยินดี            เมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
.  อุเบกขา   วางตนเป็นกลาง          ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ  มีทุกข์
ไม่ลุอำนาจอคิต ๔ ประการอคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี ๔ ประการ
๑.  ฉันทาคติ          ลำเอียงเพราะรักใคร่
๒.  โทสาคติ         ลำเอียงเพราะโกรธ
๓.  โมหาคติ          ลำเอียงเพราะเขลา
๔.  ภยาคติ             ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ ๔ ประการนี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม
ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมาธิปไตย ๓ ประการ ได้แก่
อัตตาธิปไตย
โลกาธิปไตย
ธรรมาธิปไตย
เมื่อปฏิบัติได้เราก็สร้างศาสนทายาท   มีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม   บรรพชาสามเณรเพื่อสืบทอดมรดกทางศาสนาให้คงอยู่และพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ    ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความสามารถและเหมาะสม  ที่สำคัญปูชนียบุคคลควรนำมายกย่องเชิดชูเป็นแบบอย่าง         เมื่อมีผู้ที่สามารถเผยแผ่พระศาสนา   โดยมีแม่แบบคือครูอาจารย์ที่แนะนำสั่งสอนแล้วปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย           พระศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง    เป็นการจัดสรรคัดเลือกในการวางแผนที่ถูกต้องเป็นระบบแล้วประสานงานสร้างเครือข่ายบริหารด้านกฎหมายให้รู้วิธีการปกป้องทรัพย์สินศาสนสมบัติของวัด      ก็ไม่ทำให้วัดต้องเสียประโยชน์จัดฝ่ายการศึกษา เป็นเครือข่ายที่มีการถ่ายโอนข้อมูลแลกเปลี่ยนความ รู้ให้เป็นแนวทางเดียวกัน   สร้างสื่อเพื่อการพัฒนาการสอนที่ทันสมัย    ฝ่ายประชาสัมพันธ์มีการจัดนิทรรศการในเทศกาลสำคัญทางศาสนา          มาการเรียนรู้และอบรมด้านการทำบัญชีการเงิน  ทั้งหมดมีการฝึกบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่แล้วต้องทำการพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติในแต่ละด้าน  เพื่อเป็นที่ปรึกษาเช่น     ด้านกฎหมายเป็นต้นป้องกันการถูกร้องเรียนที่ไม่เป็นธรรม    ในด้านนวกรรมก็ปรึกษาได้จากทางเจ้าหน้าที่กรมศิลป์เป็นต้นให้การออกแบบก่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุเมื่อปฏิบัติได้เรียกว่าเข้าถึงประชาชน  ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พระสีวลี

ประวัติพระสีวลี
                ถ้าพูดถึงพระสีวลีเถระก็ต้องพูดถึงเรื่องลาภสักการะ เพราะว่าพระองค์เป็นผู้ที่มีลาภสักการะมาไม่ขาด ไม่ว่าจะไปที่ไหน หรือว่าเป็นที่แร้นแค้นมากแค่ไหนหากว่าพระสีวลีไปที่นั่น ท่านก็จะได้ของใส่บาตรอยู่เสมอ
                เรื่องราวของพระสีวลีเถระเริ่มต้องที่เมืองโกลิยะ ซึ่งพระมารดาของพระสีวลีก็คือ พระนางสุปปวาสา เป็นพระธิดาของเจ้าเมืองโกลิยะนั่นเอง
                พระสีวลีนั้นเมื่อคราวได้เกิดมาปฏิสนธิในครรภ์ของมารดารนั้นก็ได้ให้คุณมารดาอเนกอนันต์ กล่าวคือ เป็นผู้ที่ทำให้มารดาได้ลาภหลายอย่าง โดยตั้งแต่ครรภ์พระสีวลีนั้นพระนางสุปปวาสาก็ได้เครื่องบรรณาการ  ๕๐๐ ทุกเช้าเย็น และไม่ว่าท่านจะไปที่ไหนหรือว่าจับต้องอะไร ก็กลายเป็นลาภ มีของไหลมาเทมาไม่หมด จับข้าวก็มีข้าวออกมามากมาย หากว่าจับหม้อแกง ก็มีแกงตักเลี้ยงไม่ได้ขาด
                ข่าวเรื่องของพระนางสุปปวาสาได้กระจายออกไปก็มีผู้คนเดินทางมาเพื่อให้พระนางสุปปวาสาช่วยทำให้ทำนาได้ผลดี ส่วนหนึ่งนั้นก็ต้องการจะทดสอบดูว่าสิ่งที่เขาร่ำลือกันนั้นเป็นจริงหรือไม่ซึ่งหากว่าเป็นจริงก็จะเป็นผลดีแก่เทือกสวนไร่นา ที่ตอนนั้นกำลังได้รับความทุกข์ร้อนอย่างหนัก เนื่องจากว่าดินเริ่มเสีย ฝนก็ตกน้อย ไม่ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง
                ชาวนาหลายต่อหลายคนในเมืองนั้นได้เดินทางมาที่วังของพระนางสุปปวาสาเพื่อขอความช่วยเหลือให้พระนางนั้นไปจับข้าวในยุ้งฉางและหม้อข้าวที่ใส่ข้าวเพื่อความเป็นสิริมงคลและนำพาโชคลาภต่าง ๆ มาให้นั่นเอง
                การเดินทางของชาวนานั้นสร้างความประหลาดใจให้กับทหารยามและพระนางเป็นอย่างมากแต่พระนางก็ยอมให้ชาวนาเหล่านั้นเข้าเฝ้าเพื่อขอร้องให้พระนางสุปปวาสาไปช่วยเหลือให้พ้นจากภัยครั้งนี้
                ปีนี้เทือกสวยไร้นาเสียหาย ข้าวก็ปลูกไม่ดี ดีไม่ดีเราอาจจะอดตายกัน พวกข้าพเจ้าได้ยินชื่อเสียงของความให้โชคลาภของพระนางไม่ว่าจะทรงหยิบหรือจับอะไรนั้นก็ล้วนแต่เป็นผลบริบูรณ์ไปหมด ตัวแทนชาวนากล่าว
                หากว่าพวกท่านเห็นว่าเราสามารถเป็นประโยชน์ได้ เอาเถอะเราจะไป แต่เราขอกล่าวก่อนว่าคนที่มีบารมีนั้นหาเป็นตัวเราไม่ หากแต่เป็นบุตรของเราที่อยู่ในครรภ์ที่ให้จตุปัจจัยลาภต่าง ๆ พระนางสุปปวาสากล่าวตอบ
                เมื่อได้ยินคำกล่าวของพระนางสุปปวาสา ทุกคนก็ยินดีกันใหญ่ชาวนาเหล่านั้นจึงได้นำเอาเมล็ดพันธ์มาให้พระนางฯ จับซึ่งพระนางฯ นั้นก็จับเมล็ดพืชผลนั้นแต่โดยดี และอธิษฐานให้ลาภผลที่บังเกิดแก่พระนางฯ นั้น เผื่อแผ่ไปให้กับผู้คนเหล่านั้นด้วยเถิด
                หลังจากกาลเวลาผ่านไปแล้วเมล็ดพันธุ์ที่พระนางฯ ได้จับนั้นก็ออกผลผลิตออกมาจากรวงข้าวเป็นอย่างดี และน่าประหลาดเหลือเกินที่เมล็ดเหล่านั้นให้ผลผลิตมากมายกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่เป็นเม็ดเดิมที่เคยปลูกกันอยู่เป็นประจำ
                ด้วยสาเหตุนั้นความมีโชคลาภอันเกิดจากบุตรที่อยู่ในครรภ์ของพระนางฯ นั้น ก็ยิ่งมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ
                พระนางสุปปวาสารทรงครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน แล้วพระนางฯ ก็เกิดอาการเจ็บท้องคล้ายจะคลอด แต่เด็กก็ไม่ยอมออกมาเสียที ทำให้พระนางฯ ต้องเจ็บท้องทนทุกข์ทรมานอยู่ประมาณ ๗ วัน พระนางสุปปวาสาทรงขอให้พระสวามีเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังคำสอนและนำเอามาพูดให้พระนางฟังเมื่อพระสวามีมาถึงพระนางฯ ก็ทรงคลอดออกมาได้อย่างสบายราวกับเป็นการเทน้ำออกจากกระบอกอย่างไรอย่างนั้น หลังจากนั้นพระนางฯ ก็จัดอาหารถวายพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ในวันสุดท้ายของการถวายทาน พระสีวลีก็ได้ช่วยพระมารดาถวายทานอยู่อย่างขะมักเขม้นและในขณะนั้นเองพระสารีบุตรก็ได้มีโอกาสสนทนากับพระสีวลีบุตร เมื่อพูดคุยกันอยู่ชั่วครู่พระสีวลีก็ขออนุญาตพระมารดาเพื่อบรรพชา โดยการบรรพชาครั้งนี้ก็สร้างความปลาบปลื้มยินดีแก่พระนางสุปปวาสาเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยรู้ว่าการบวชนั้นเป็นมหาบุญอันยิ่งใหญ่ นอกจากนี้หากว่าพระสีวลีบุตรนั้นเข้าใจธรรมจากท่องแท้แล้วไซร้ก็จะสามารถสำเร็จมรรคผลและพ้นจากวัฏสงสารได้ตลอดกาล
                เมื่อถึงเวลาบรรพชานั้น แน่นอนว่าจะต้องมีพิธีปลงผมของสีวลีบุตร แต่เมื่อจรดมีดโกนแล้วโกนครั้งแรกนั้น พระสีวลีที่กำลังพิจารณาเรื่องความทุกข์เมื่ออยู่ในพระครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน วันนั้นก็สำเร็จโสดาปัตติผล และเมื่อจรดมีดโกนผมออกเป็นครั้งที่สองนั้นสีวลีบุตรก็สำเร็จมรรคผลได้สกทาคามีผล ครั้งที่สามสำเร็จอนาคามีผล และเมื่อปลงผมเสร็จสีวลีบุตรก็สำเร็จอรหันตผลนั่นเอง
                หลังจากที่พระสีวลีนั่นได้บรรพชาอยู่ในเพศบรรพชิตแล้ว ก็มีเรื่องราวมากมายให้เป็นที่กล่าวขานตามมา นั่นก็คือ เป็นผู้ที่มีลาภมาก กล่าวคือ เวลาไปที่ไหนแล้วก็จะมีผู้นำเข้าปลาอาหารอย่างดีมาทำบุญไม่สร่างซา แม้แต่ในที่ทุรกันดารหากว่าพระสีวลีเดินทางไปเยือนก็จะมีผู้เข้ามาทำบุญ ถวายข้าวปลาอาหารและสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างเนืองแน่น
                แต่ก็ใช่ว่าข้าวของเครื่องใช้ อาหารต่าง ๆ นี้จะได้เฉพาะพระสีวลี เพราะหากว่าในยามนั้นพระสีวลีนั้นอยู่กับผู้ใด พระภิกษุรูปนั้นก็จะได้อานิสงส์ไปด้วยเช่นนั้นและนี่ก็เป็นที่มาของเอตทัคคะในด้านของผู้มีลาภนั่นเอง

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พระพุทธศาสนาหลักสูตรใหม่

          พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบหมายให้ มจร. ปรับปรุงหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละโรงเรียนพบปัญหาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ๒ เรื่อง คือ           ๑.จัดเวลาเรียนน้อย และในระดับ ม.ปลาย โดยเฉพาะชั้น ม.๔-๕ มีการสอนสังคมศึกษาแบบรวม ๆ โดยไม่ได้มีการสอนวิชาพระพุทธ ศาสนาเป็นการเฉพาะ           ๒.หลักสูตรไม่ทันสมัย เด็กเรียนแล้วรู้สึกเบื่อ ซึ่งขณะนี้ มจร. ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ นี้
 
          พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อไปว่า เนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่จะใช้หลักของภาวนา ๔  คือ กายภาวนา หมายถึง พฤติกรรม ร่างกายที่แข็งแรง ศีลภาวนา หมายถึง หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จิตภาวนา หมายถึง สุขภาพจิตที่ดี ปัญญา หมายถึง การรู้ เข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้น และทางแก้ปัญหา เป็นแกนหลัก ควบคู่กับการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งจะมีการฝึกวิธีคิดให้แก่เด็ก ซึ่งใน 
          ระดับชั้น ป.๑-๓ จะเน้นเรื่องการบริหารจิตเจริญปัญญา เช่น การร้องเพลงสร้างสมาธิ เป็นต้น           ระดับชั้น ป.๔-๖ เน้นการปฏิบัติตนเองการเป็นชาวพุทธที่ดี การเป็นคนดีควรทำอย่างไร           ระดับชั้น ม.๑-๓ เรียนรู้เรื่องของการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น           ระดับชั้น ม.๔-๖ จะเน้นนักเรียนให้เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองศึกษาต่อ  ทั้งนี้หลักสูตรใหม่ยังคงจะต้องมีเรียนพุทธประวัติ หน้าที่ชาวพุทธ และหลักธรรมคำสอนเป็นความรู้พื้นฐาน เพื่อให้เด็กเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วย  

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พุทธประวัติ


พุทธประวัติ
                        เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว   มีราชธานีเมืองหนึ่งชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์   ตั้งอยู่ในอาณาจักร ชมพูทวีป
มีพระราชาพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นผู้ครองนคร  และมีพระมเหสีพระนามว่า    พระนางสิริมหามายา
                เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ จึงได้ทูลขออนุญาตจากพระราชสวามี เพื่อเสด็จไปยังกรุงเทวทหะ อันเป็นถิ่นกำเนิดของพระนาง   ครั้นเมื่อขบวนเสด็จผ่านมาถึงสวนลุมพินี      พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้นก็เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์   เมื่อพระโอรสประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ  ทรงประกอบพิธีขนานพระนาม โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประชุมเพื่อทำพิธี  ในครั้งนั้นทรงขนานพระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า ผู้สำเร็จตามความประสงค์   และยังได้ทำนายว่า ถ้าพระโอรสอยู่ครองเมืองจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
                หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาได้สิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้อยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี   ซึ่งเป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา  เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมพรรษาได้ ๗ พรรษา ดังนั้นพระราชบิดาให้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักครูวิศวามิตร เจ้าชายสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนสิ้นความรู้ของอาจารย์
                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือ ยโสธรา และเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล
ตรัสรู้
                ครั้งหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๔ ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ   ทำให้พระองค์คิดว่า คนทั้งหลายล้วนต้องประสบการเกิด แก่ เจ็บ และตายไม่มีใครรอดพ้น และคิดว่าการออกบวชจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้พระองค์จึงเสด็จออกบวชในคืนนั้นโดยมีม้ากัณฐกะ และมีนายฉันนะเป็นผู้ติดตามและบวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมา
                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะผนวชแล้ว ได้ไปศึกษาอยู่ในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ศึกษาจนสำเร็จก็ไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงเสด็จไปแสวงหาธรรมที่อื่นต่อไป
             ต่อมาพระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยากลั้นลมหายใจเข้าออก  อดอาหาร  จนพระวรกายผ่ายผอม ก็ยังไม่พบหนทางพ้นทุกข์  จึงทรงเลิกวิธีทรมานร่างกายเป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์ที่เฝ้าปรนนิบัติอยู่เห็นว่าพระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญเพียรแล้วจึงได้พากันหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี
พระสิทธัตถะได้กลับมาเสวยอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง    แล้วบำเพ็ญเพียรด้วยการนั่งสมาธิ ทำจิตให้เกิดสมาธิแน่วแน่    พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติจึงเกิดความรู้แจ้งตรัสรู้ใน   อริยสัจ ๔   ซึ่งถือเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์  ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา  และได้รับการขนานพระนามใหม่ว่า พระพุทธเจ้า

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นโครงการที่วัดต่างๆ จัดขึ้นในช่วงปิดเทอมใหญ่ คือ ระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ          - เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์              - เพื่อให้เยาวชนไทยได้ศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาควิชาการ และภาคปฏิบัติ              - เพื่อเป็นการสนองนโยบายของกรมการศาสนา กรมสามัญศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ อื่นๆ