วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗ ประการ
คำว่า สัปปุริสธรรม  แปลว่า ธรรมะของคนดี หมายความว่า ผู้ใดมีธรรมเหล่านี้แล้ว  ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนดี    คนดีที่พระพุทธศาสนายกย่อง  มิได้เป็นคนงมงายหรือเป็นคนซื่อจนเซ่อ  แต่เป็นคนฉลาดมีเหตุผล  รู้จักใช้ความคิด  วางตัวได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์เหมาะสม  สัปปุริสธรรมมี  ๗ ประการ  ดังนี้
                )  อัตถัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิต
                )  ธัมมัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว
                )  อัตตัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองทั้งในด้านความรู้  คุณธรรม และความสามารถ
                )  มัตตัญญุตา คือ              ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี  การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร 
                )  กาลัญญุตา  คือ              ความเป็นรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ
                )  ปริสัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้ปฏิบัติ  การปรับและแก้ไขตนให้เหมาะกับสภาพกลุ่มและชุมชน
                )  ปุคคลัญญุตา คือ           ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
 ไตรสิกขา
                                เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด  นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน
ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก    ประการ คือ
                                                ๑.   ศีล                    การรักษากายวาจาใจให้   เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด
                                                ๒.  สมาธิ               เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ
                                                ๓.  ปัญญา             เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง  รู้ถูก  รู้ผิด

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า

ธรรมเครื่องให้ก้าวหน้า ๗ ประการ
                นักบริหารในตำแหน่งต่าง ๆ ย่อมหวังความเจริญก้าวหน้าได้รับการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นพระพุทธองค์ทรงตรัสธรรมเครื่องเจริญยศ (ความก้าวหน้า)  ไว้ ๗ ประการ คือ
                                                 .   อุฎฐานะ          หมั่นขยัน
                                                ๒.  สติ                   มีความเฉลียว
                                                .  สุจิกัมมะ         การงานสะอาด
                                                ๔.  สัญญตะ          ระวังดี
                                                ๕.  นิสัมมการี      ใคร่ครวญพิจารณาแล้วจึงธรรม
                                                ๖.  ธัมมชีวี             เลี้ยงชีพโดยธรรม
                                                ๗.  อัปปมัตตะ     ไม่ประมาท
พระพุทธโอวาท ๓
       นักบริหารที่ทำงานได้ผลดีเนื่องจากได้  ตั้งใจดี และ มือสะอาด พระพุทธองค์ได้วางแนวไว้ 3 ประการ ดังนี้
                                ๑.  เว้นจากทุจริต  การประพฤติชั่ว  ทางกาย  วาจา ใจ
                                ๒.  ประกอบสุจริต  ประพฤติชอบ  ทางกาย  วาจา  ใจ
                                ๓.  ทำใจของตนให้บริสุทธิ์สะอาด  ไม่โลภ  ไม่โกรธ  ไม่หลง
          การนำหลักธรรมที่ประเสริฐมาปฏิบัติ  ย่อมจักนำความเจริญ  ตลอดจนความสุขกาย สบายใจให้บังเกิดแก่
ผู้ประพฤติทั้งสิ้น สมดังพุทธสุภาษิตที่ว่า ธัมโม  หเว รักขติ  ธัมมจาริง ธรรมะย่อมคุ้มครองรักษาผู้ประพฤติธรรม

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การบริหารวัดที่ดี

การบริหารวัดที่ดี
การที่จะบริหารวัดที่ดีต้องอาศัยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา   ต้องยึดหลักพระธรรมวินัย    ต้องมีความ
เที่ยงธรรมต่อการบริหาร   หลักธรรมหรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้านั้น     ถึงแม้ว่าจะมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลนับถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๒๕๕๒ กว่าปีแล้ว แต่ทุกหลักธรรมยังคงทันสมัยอยู่เสมอ สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นเครื่อง ดำเนินชีวิตและแนวทางในการบริหารงานได้เป็นอย่างดี  ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะหลักธรรมดังกล่าว    เป็นความจริงที่
สามารถพิสูจน์ได้ที่เรียกว่า  สัจธรรม   ปฏิบัติได้เห็นผลได้อย่างแท้     จริงอยู่ที่เราจะนำหลักธรรมข้อใดมาใช้ให้
เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด สำหรับนักบริหารก็มีหลักธรรมสำหรับยึดถือและปฏิบัติอย่างมากมายมีดังต่อไปนี้
พรหมวิหาร    เป็นหลักธรรมของผู้ใหญ่(ผู้บังคับบัญชา)  ที่ควรถือปฏิบัติเป็นนิตย์ มี ๔ ประการ คือ
.  เมตตา      ความรักใคร่  ปรารถนาจะให้ผู้อื่นมีความสุข
.  กรุณา      ความสงสาร                  คิดช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์
.  มุทิตา      ความพลอยยินดี            เมื่อผู้อื่นได้ดีมีสุข
.  อุเบกขา   วางตนเป็นกลาง          ไม่ดีใจ  ไม่เสียใจ  เมื่อผู้อื่นถึงวิบัติ  มีทุกข์
ไม่ลุอำนาจอคิต ๔ ประการอคติ  หมายความว่า  การกระทำอันทำให้เสียความเที่ยงธรรม  มี ๔ ประการ
๑.  ฉันทาคติ          ลำเอียงเพราะรักใคร่
๒.  โทสาคติ         ลำเอียงเพราะโกรธ
๓.  โมหาคติ          ลำเอียงเพราะเขลา
๔.  ภยาคติ             ลำเอียงเพราะกลัว
อคติ ๔ ประการนี้ ผู้บริหาร/ผู้ใหญ่  ไม่ควรประพฤติเพราะเป็นทางแห่งความเสื่อม
ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมาธิปไตย ๓ ประการ ได้แก่
อัตตาธิปไตย
โลกาธิปไตย
ธรรมาธิปไตย
เมื่อปฏิบัติได้เราก็สร้างศาสนทายาท   มีการจัดกิจกรรมปฏิบัติธรรม   บรรพชาสามเณรเพื่อสืบทอดมรดกทางศาสนาให้คงอยู่และพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพ    ให้ปฏิบัติหน้าที่ตามความสามารถและเหมาะสม  ที่สำคัญปูชนียบุคคลควรนำมายกย่องเชิดชูเป็นแบบอย่าง         เมื่อมีผู้ที่สามารถเผยแผ่พระศาสนา   โดยมีแม่แบบคือครูอาจารย์ที่แนะนำสั่งสอนแล้วปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องตามพระธรรมวินัย           พระศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง    เป็นการจัดสรรคัดเลือกในการวางแผนที่ถูกต้องเป็นระบบแล้วประสานงานสร้างเครือข่ายบริหารด้านกฎหมายให้รู้วิธีการปกป้องทรัพย์สินศาสนสมบัติของวัด      ก็ไม่ทำให้วัดต้องเสียประโยชน์จัดฝ่ายการศึกษา เป็นเครือข่ายที่มีการถ่ายโอนข้อมูลแลกเปลี่ยนความ รู้ให้เป็นแนวทางเดียวกัน   สร้างสื่อเพื่อการพัฒนาการสอนที่ทันสมัย    ฝ่ายประชาสัมพันธ์มีการจัดนิทรรศการในเทศกาลสำคัญทางศาสนา          มาการเรียนรู้และอบรมด้านการทำบัญชีการเงิน  ทั้งหมดมีการฝึกบุคคลที่ปฏิบัติหน้าที่แล้วต้องทำการพิจารณาผู้ที่มีคุณสมบัติในแต่ละด้าน  เพื่อเป็นที่ปรึกษาเช่น     ด้านกฎหมายเป็นต้นป้องกันการถูกร้องเรียนที่ไม่เป็นธรรม    ในด้านนวกรรมก็ปรึกษาได้จากทางเจ้าหน้าที่กรมศิลป์เป็นต้นให้การออกแบบก่อสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุเมื่อปฏิบัติได้เรียกว่าเข้าถึงประชาชน  ศาสนาก็จะเจริญรุ่งเรือง

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พระสีวลี

ประวัติพระสีวลี
                ถ้าพูดถึงพระสีวลีเถระก็ต้องพูดถึงเรื่องลาภสักการะ เพราะว่าพระองค์เป็นผู้ที่มีลาภสักการะมาไม่ขาด ไม่ว่าจะไปที่ไหน หรือว่าเป็นที่แร้นแค้นมากแค่ไหนหากว่าพระสีวลีไปที่นั่น ท่านก็จะได้ของใส่บาตรอยู่เสมอ
                เรื่องราวของพระสีวลีเถระเริ่มต้องที่เมืองโกลิยะ ซึ่งพระมารดาของพระสีวลีก็คือ พระนางสุปปวาสา เป็นพระธิดาของเจ้าเมืองโกลิยะนั่นเอง
                พระสีวลีนั้นเมื่อคราวได้เกิดมาปฏิสนธิในครรภ์ของมารดารนั้นก็ได้ให้คุณมารดาอเนกอนันต์ กล่าวคือ เป็นผู้ที่ทำให้มารดาได้ลาภหลายอย่าง โดยตั้งแต่ครรภ์พระสีวลีนั้นพระนางสุปปวาสาก็ได้เครื่องบรรณาการ  ๕๐๐ ทุกเช้าเย็น และไม่ว่าท่านจะไปที่ไหนหรือว่าจับต้องอะไร ก็กลายเป็นลาภ มีของไหลมาเทมาไม่หมด จับข้าวก็มีข้าวออกมามากมาย หากว่าจับหม้อแกง ก็มีแกงตักเลี้ยงไม่ได้ขาด
                ข่าวเรื่องของพระนางสุปปวาสาได้กระจายออกไปก็มีผู้คนเดินทางมาเพื่อให้พระนางสุปปวาสาช่วยทำให้ทำนาได้ผลดี ส่วนหนึ่งนั้นก็ต้องการจะทดสอบดูว่าสิ่งที่เขาร่ำลือกันนั้นเป็นจริงหรือไม่ซึ่งหากว่าเป็นจริงก็จะเป็นผลดีแก่เทือกสวนไร่นา ที่ตอนนั้นกำลังได้รับความทุกข์ร้อนอย่างหนัก เนื่องจากว่าดินเริ่มเสีย ฝนก็ตกน้อย ไม่ตกต้องตามฤดูกาลนั่นเอง
                ชาวนาหลายต่อหลายคนในเมืองนั้นได้เดินทางมาที่วังของพระนางสุปปวาสาเพื่อขอความช่วยเหลือให้พระนางนั้นไปจับข้าวในยุ้งฉางและหม้อข้าวที่ใส่ข้าวเพื่อความเป็นสิริมงคลและนำพาโชคลาภต่าง ๆ มาให้นั่นเอง
                การเดินทางของชาวนานั้นสร้างความประหลาดใจให้กับทหารยามและพระนางเป็นอย่างมากแต่พระนางก็ยอมให้ชาวนาเหล่านั้นเข้าเฝ้าเพื่อขอร้องให้พระนางสุปปวาสาไปช่วยเหลือให้พ้นจากภัยครั้งนี้
                ปีนี้เทือกสวยไร้นาเสียหาย ข้าวก็ปลูกไม่ดี ดีไม่ดีเราอาจจะอดตายกัน พวกข้าพเจ้าได้ยินชื่อเสียงของความให้โชคลาภของพระนางไม่ว่าจะทรงหยิบหรือจับอะไรนั้นก็ล้วนแต่เป็นผลบริบูรณ์ไปหมด ตัวแทนชาวนากล่าว
                หากว่าพวกท่านเห็นว่าเราสามารถเป็นประโยชน์ได้ เอาเถอะเราจะไป แต่เราขอกล่าวก่อนว่าคนที่มีบารมีนั้นหาเป็นตัวเราไม่ หากแต่เป็นบุตรของเราที่อยู่ในครรภ์ที่ให้จตุปัจจัยลาภต่าง ๆ พระนางสุปปวาสากล่าวตอบ
                เมื่อได้ยินคำกล่าวของพระนางสุปปวาสา ทุกคนก็ยินดีกันใหญ่ชาวนาเหล่านั้นจึงได้นำเอาเมล็ดพันธ์มาให้พระนางฯ จับซึ่งพระนางฯ นั้นก็จับเมล็ดพืชผลนั้นแต่โดยดี และอธิษฐานให้ลาภผลที่บังเกิดแก่พระนางฯ นั้น เผื่อแผ่ไปให้กับผู้คนเหล่านั้นด้วยเถิด
                หลังจากกาลเวลาผ่านไปแล้วเมล็ดพันธุ์ที่พระนางฯ ได้จับนั้นก็ออกผลผลิตออกมาจากรวงข้าวเป็นอย่างดี และน่าประหลาดเหลือเกินที่เมล็ดเหล่านั้นให้ผลผลิตมากมายกว่าปกติ ทั้ง ๆ ที่เป็นเม็ดเดิมที่เคยปลูกกันอยู่เป็นประจำ
                ด้วยสาเหตุนั้นความมีโชคลาภอันเกิดจากบุตรที่อยู่ในครรภ์ของพระนางฯ นั้น ก็ยิ่งมีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ
                พระนางสุปปวาสารทรงครรภ์ถึง ๗ ปี ๗ เดือน แล้วพระนางฯ ก็เกิดอาการเจ็บท้องคล้ายจะคลอด แต่เด็กก็ไม่ยอมออกมาเสียที ทำให้พระนางฯ ต้องเจ็บท้องทนทุกข์ทรมานอยู่ประมาณ ๗ วัน พระนางสุปปวาสาทรงขอให้พระสวามีเดินทางไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังคำสอนและนำเอามาพูดให้พระนางฟังเมื่อพระสวามีมาถึงพระนางฯ ก็ทรงคลอดออกมาได้อย่างสบายราวกับเป็นการเทน้ำออกจากกระบอกอย่างไรอย่างนั้น หลังจากนั้นพระนางฯ ก็จัดอาหารถวายพระพุทธเจ้าเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืน ในวันสุดท้ายของการถวายทาน พระสีวลีก็ได้ช่วยพระมารดาถวายทานอยู่อย่างขะมักเขม้นและในขณะนั้นเองพระสารีบุตรก็ได้มีโอกาสสนทนากับพระสีวลีบุตร เมื่อพูดคุยกันอยู่ชั่วครู่พระสีวลีก็ขออนุญาตพระมารดาเพื่อบรรพชา โดยการบรรพชาครั้งนี้ก็สร้างความปลาบปลื้มยินดีแก่พระนางสุปปวาสาเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยรู้ว่าการบวชนั้นเป็นมหาบุญอันยิ่งใหญ่ นอกจากนี้หากว่าพระสีวลีบุตรนั้นเข้าใจธรรมจากท่องแท้แล้วไซร้ก็จะสามารถสำเร็จมรรคผลและพ้นจากวัฏสงสารได้ตลอดกาล
                เมื่อถึงเวลาบรรพชานั้น แน่นอนว่าจะต้องมีพิธีปลงผมของสีวลีบุตร แต่เมื่อจรดมีดโกนแล้วโกนครั้งแรกนั้น พระสีวลีที่กำลังพิจารณาเรื่องความทุกข์เมื่ออยู่ในพระครรภ์มารดาถึง ๗ ปี ๗ เดือน วันนั้นก็สำเร็จโสดาปัตติผล และเมื่อจรดมีดโกนผมออกเป็นครั้งที่สองนั้นสีวลีบุตรก็สำเร็จมรรคผลได้สกทาคามีผล ครั้งที่สามสำเร็จอนาคามีผล และเมื่อปลงผมเสร็จสีวลีบุตรก็สำเร็จอรหันตผลนั่นเอง
                หลังจากที่พระสีวลีนั่นได้บรรพชาอยู่ในเพศบรรพชิตแล้ว ก็มีเรื่องราวมากมายให้เป็นที่กล่าวขานตามมา นั่นก็คือ เป็นผู้ที่มีลาภมาก กล่าวคือ เวลาไปที่ไหนแล้วก็จะมีผู้นำเข้าปลาอาหารอย่างดีมาทำบุญไม่สร่างซา แม้แต่ในที่ทุรกันดารหากว่าพระสีวลีเดินทางไปเยือนก็จะมีผู้เข้ามาทำบุญ ถวายข้าวปลาอาหารและสิ่งต่าง ๆ อยู่อย่างเนืองแน่น
                แต่ก็ใช่ว่าข้าวของเครื่องใช้ อาหารต่าง ๆ นี้จะได้เฉพาะพระสีวลี เพราะหากว่าในยามนั้นพระสีวลีนั้นอยู่กับผู้ใด พระภิกษุรูปนั้นก็จะได้อานิสงส์ไปด้วยเช่นนั้นและนี่ก็เป็นที่มาของเอตทัคคะในด้านของผู้มีลาภนั่นเอง

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พระพุทธศาสนาหลักสูตรใหม่

          พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัย (มจร.) เปิดเผยว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้มอบหมายให้ มจร. ปรับปรุงหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนา เพื่อให้การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับสภาพของท้องถิ่นนั้น ๆ เนื่องจากที่ผ่านมาแต่ละโรงเรียนพบปัญหาการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา ๒ เรื่อง คือ           ๑.จัดเวลาเรียนน้อย และในระดับ ม.ปลาย โดยเฉพาะชั้น ม.๔-๕ มีการสอนสังคมศึกษาแบบรวม ๆ โดยไม่ได้มีการสอนวิชาพระพุทธ ศาสนาเป็นการเฉพาะ           ๒.หลักสูตรไม่ทันสมัย เด็กเรียนแล้วรู้สึกเบื่อ ซึ่งขณะนี้ มจร. ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะเริ่มใช้ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ นี้
 
          พระธรรมโกศาจารย์ กล่าวต่อไปว่า เนื้อหาหลักสูตรการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาฉบับใหม่จะใช้หลักของภาวนา ๔  คือ กายภาวนา หมายถึง พฤติกรรม ร่างกายที่แข็งแรง ศีลภาวนา หมายถึง หลักการอยู่ร่วมกับผู้อื่น จิตภาวนา หมายถึง สุขภาพจิตที่ดี ปัญญา หมายถึง การรู้ เข้าใจ สิ่งที่เกิดขึ้น และทางแก้ปัญหา เป็นแกนหลัก ควบคู่กับการทำกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนมากขึ้น รวมทั้งจะมีการฝึกวิธีคิดให้แก่เด็ก ซึ่งใน 
          ระดับชั้น ป.๑-๓ จะเน้นเรื่องการบริหารจิตเจริญปัญญา เช่น การร้องเพลงสร้างสมาธิ เป็นต้น           ระดับชั้น ป.๔-๖ เน้นการปฏิบัติตนเองการเป็นชาวพุทธที่ดี การเป็นคนดีควรทำอย่างไร           ระดับชั้น ม.๑-๓ เรียนรู้เรื่องของการเข้าสังคมร่วมกับผู้อื่น           ระดับชั้น ม.๔-๖ จะเน้นนักเรียนให้เรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองศึกษาต่อ  ทั้งนี้หลักสูตรใหม่ยังคงจะต้องมีเรียนพุทธประวัติ หน้าที่ชาวพุทธ และหลักธรรมคำสอนเป็นความรู้พื้นฐาน เพื่อให้เด็กเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาด้วย  

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา พุทธประวัติ


พุทธประวัติ
                        เมื่อประมาณ ๓,๐๐๐ ปีมาแล้ว   มีราชธานีเมืองหนึ่งชื่อว่า กรุงกบิลพัสดุ์   ตั้งอยู่ในอาณาจักร ชมพูทวีป
มีพระราชาพระนามว่า พระเจ้าสุทโธทนะ เป็นผู้ครองนคร  และมีพระมเหสีพระนามว่า    พระนางสิริมหามายา
                เมื่อพระนางสิริมหามายาทรงมีพระครรภ์ จึงได้ทูลขออนุญาตจากพระราชสวามี เพื่อเสด็จไปยังกรุงเทวทหะ อันเป็นถิ่นกำเนิดของพระนาง   ครั้นเมื่อขบวนเสด็จผ่านมาถึงสวนลุมพินี      พระนางก็ได้ประสูติพระโอรส ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หลังจากนั้นก็เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์   เมื่อพระโอรสประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะ  ทรงประกอบพิธีขนานพระนาม โดยเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน มาประชุมเพื่อทำพิธี  ในครั้งนั้นทรงขนานพระนามว่า สิทธัตถะ แปลว่า ผู้สำเร็จตามความประสงค์   และยังได้ทำนายว่า ถ้าพระโอรสอยู่ครองเมืองจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่ แต่ถ้าออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกของโลก
                หลังจากที่เจ้าชายสิทธัตถะประสูติได้ ๗ วัน พระนางสิริมหามายาได้สิ้นพระชนม์ลง เจ้าชายสิทธัตถะจึงได้อยู่ในความดูแลของพระนางปชาบดีโคตมี   ซึ่งเป็นน้องสาวของพระนางสิริมหามายา  เจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมพรรษาได้ ๗ พรรษา ดังนั้นพระราชบิดาให้ศึกษาศิลปวิทยาในสำนักครูวิศวามิตร เจ้าชายสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจนสิ้นความรู้ของอาจารย์
                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา ได้อภิเษกสมรสกับพระนางพิมพา หรือ ยโสธรา และเมื่อพระชนมายุได้ ๒๙ พรรษา มีพระโอรสองค์หนึ่งพระนามว่า ราหุล
ตรัสรู้
                ครั้งหนึ่งเจ้าชายสิทธัตถะได้เสด็จออกประพาสอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นเทวทูต ๔ ได้แก่ คนแก่ คนเจ็บ คนตาย และสมณะ   ทำให้พระองค์คิดว่า คนทั้งหลายล้วนต้องประสบการเกิด แก่ เจ็บ และตายไม่มีใครรอดพ้น และคิดว่าการออกบวชจะช่วยให้พ้นทุกข์ได้พระองค์จึงเสด็จออกบวชในคืนนั้นโดยมีม้ากัณฐกะ และมีนายฉันนะเป็นผู้ติดตามและบวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมา
                เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะผนวชแล้ว ได้ไปศึกษาอยู่ในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ศึกษาจนสำเร็จก็ไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงเสด็จไปแสวงหาธรรมที่อื่นต่อไป
             ต่อมาพระองค์ได้บำเพ็ญทุกรกิริยากลั้นลมหายใจเข้าออก  อดอาหาร  จนพระวรกายผ่ายผอม ก็ยังไม่พบหนทางพ้นทุกข์  จึงทรงเลิกวิธีทรมานร่างกายเป็นเหตุให้ปัญจวัคคีย์ที่เฝ้าปรนนิบัติอยู่เห็นว่าพระองค์ทรงเลิกบำเพ็ญเพียรแล้วจึงได้พากันหนีไปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  แขวงเมืองพาราณสี
พระสิทธัตถะได้กลับมาเสวยอาหารเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง    แล้วบำเพ็ญเพียรด้วยการนั่งสมาธิ ทำจิตให้เกิดสมาธิแน่วแน่    พิจารณาความเป็นไปของธรรมชาติจึงเกิดความรู้แจ้งตรัสรู้ใน   อริยสัจ ๔   ซึ่งถือเป็นหนทางแห่งการดับทุกข์ ณ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์  ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา  ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม เมื่อวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๖ ขณะที่มีพระชนมายุได้ ๓๕ พรรษา  และได้รับการขนานพระนามใหม่ว่า พระพุทธเจ้า

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน

การบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน เป็นโครงการที่วัดต่างๆ จัดขึ้นในช่วงปิดเทอมใหญ่ คือ ระหว่างปลายเดือนมีนาคม ถึงต้นเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์หลักๆ คือ          - เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์              - เพื่อให้เยาวชนไทยได้ศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งภาควิชาการ และภาคปฏิบัติ              - เพื่อเป็นการสนองนโยบายของกรมการศาสนา กรมสามัญศึกษา สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ สำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย รวมทั้งเพื่อเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ อื่นๆ

คำถวายกระทงลอยประทีป

คำถวายกระทงสำหรับลอยประทีป
มะยัง อิมินา ปะทีเปนะ อะสุกายะ นัมมะทายะ นะทิยา
ปุลิเน ฐิตัง มุนิโน ปาทะวะลัญชัง อะภิปูเชมะ อะยัง  ปะทีเปนะ มุนิโน  ปาทะวะลัญชัสสะ  ปูชา  อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ สังวัตตะตุ,
คำแปล
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอบูชา   ซึ่งรอยพระพุทธบาท   ที่ตั้งอยู่เหนือหาดทราย   ในแม่น้ำชื่อนัมมทานที่โน้น    ด้วยประทีปนี้ กิริยาที่บูชารอยพระพุทธบาท ด้วยประทีปนี้      ขอจงเป็นไปเพื่อประโยชน์  และความสุข  แก่ข้าพระเจ้าทั้งหลาย

คาถาบูชาพระนวโกฏิ

คาถาบูชาพระเศรษฐีนวโกฎิ
(ระลึกถึงคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า)  ตั้งนะโม  จบ    
มาขะโย  มาวะโย  มัยหัง                       มาจะโกจิ  อุปัททะโว
ธัญญะ  ธารานิ  ปะวัสสันตุ    ธนัญชัยยัสสะ  ยะถาคะเร
สุวัณณานิ  หิรัญญาจะ                            สัพพะโภคา  จะ รัตตะนา
ปะวัสสันตุ  เม  เอวังคะเร                       สุมะนะ  ชะฎิสัสสะจะ
อะนาถะบิณฑิกะ  เมทะกัสสะ               โชติกะ  สุมังคะสัสสะจะ
มัณฑาตุ  เวสสันตะรัสสะ                       ปะวัสสันติ  ยะถาคะเร
เอเตนะ  สัจจะ วัชเชนะ                         สัพพะสิทธิ  ภะวันตุ เมฯ
พระคาถานี้ เดิมทีเป็นของเจ้าประคุณ  พระอุบาลี คุณูปรมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) อดีตเจ้าอาวาส  วัดบรมนิวาส  เป็นพระคาถาบูชาพระเศรษฐีนวโกฏิ  ในอันที่จะบันดาลให้เกิดโชคลาภ สิริมงคล ท่านให้ภาวนาพระคาถานี้ บูชาเถิด  ปรารถนา อธิษฐานเอาสิ่งใด  จะได้สมดังความตั้งใจ 
หากทำการค้าขาย  ก่อนเปิดร้านให้อาราธนาพระนวโกฏิ ด้วยพระคาถานี้ ครบ ๓ จบ ด้วยใจมั่นแล จะค้าขายดี  มีเงินทองมากมาย ไม่นานจะเป็นเศรษฐี  มหาเศรษฐีแล อนึ่งถ้ามีทุกข์ภัย ให้อาราธนาพระเศรษฐีนวโกฏินี้ลงสรงน้ำ  อาราธนาให้น้ำกลายเป็นน้ำพระพุทธมนต์   สวดพระคาถานี้  ๙ จบ 
เอาน้ำรด อาบ กิน ทุกข์จะโยก โศกจะหมด เคราะห์กรรมจะคลายมลายสิ้นไป  จะบันดาลความสุขสวัสดิ์ และโชคลาภมาให้
เมื่อถึงวันเถลิงศก คือวันที่ ๑๕ เมษายนของทุก ๆ ปี จึงให้จัดหาดอกไม้ขาว ๙ กระทง เช่นดอกมะลิ ข้าวตอก ๙ กระทง อาหารคาว หวาน ๙ อย่าง  ธูป ๙ ดอก เทียน ๙ เล่ม   จุดบูชา พระนวโกฏินี้แล้ว  สวดคาถานี้ ให้ได้ ๙ จบ    นิมนต์พระสรงน้ำขออาราธนาทำเป็นน้ำพระพุทธมนต์  เอามาอาบกินประพรมบ้านเรือน   เรือกสวน ไร่นา บริวารทั้งหลาย  จะอยู่เย็น เป็นสุขตลอดทั้งปีแล   พระนวโกฏินี้ใครหมั่นอาราธนาพร้อมสวดพระคาถาบูชาอยู่เป็นเนืองนิตย์  จะไม่รู้ยาก       จนเลย  และหากยังมั่นคงในศีล ๕ หนักแน่นเท่าใด จะยิ่งบริบูรณ์   เพิ่มพูนขึ้นทุกวันแล...................
                เคล็ดลับในการบูชาพระที่มีคุณวิเศษด้านโชคลาภ ร่ำรวยนั้น  ท่านต้องเป็นคนทำบุญ  เรียกว่า  มีอารมณ์ในการอยากบริจาค จาคะทาน อยู่เป็นเนืองนิตย์ ......(ยิ่งทำ ยิ่งได้  ยิ่งให้ ยิ่งมี) ......
          ๑.  ท่านธนันชัยมหาเศรษฐี          ๒. ท่านยัสสะมหาเศรษฐี             ๓. ท่านสุมนะมหาเศรษฐี
         ๔. ท่านชะฏิละมหาเศรษฐี           ๕. ท่านอนาถปิณฑิกมหาเศรษฐี  ๖. ท่านเมณฑกะมหาเศรษฐี
         ๗. ท่านโชติกะมหาเศรษฐี            ๘. ท่านสุมังคละมหาเศรษฐี          ๙. ท่านวิสาขามหาอุบาสิกา

คำถวายผ้ากฐิน

คำถวายผ้ากฐิน
อิมัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังฆัสสะ,
                    โอโณชะยามะ,  สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง,  
                     ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหต๎วา จะ, อิมินา   ทุสเสนะ, กะฐินัง, อัตถะระตุ,
                     อัมหากัง, ทีฆะรัตตัง, หิตายะ, สุขายะ,
                                                                           คำแปล
                ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ    ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย    ผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้      แก่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับ  ผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลาย รับแล้วจงกราบกฐิน ด้วยผ้านี้  เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ.

คำอปโลกน์กฐิน  แบบ ๒ รูป
              รูปที่ ๑
              ผ้ากฐินทานกับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ เป็นของ........................ พร้อมด้วย.................... ผู้ประกอบด้วยศรัทธา         อุตสาหะพร้อมเพรียงกันนำมาถวาย     แด่พระภิกษุสงฆ์ผู้อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสนี้
              ก็แลผ้ากฐินทานนี้ เป็นของบริสุทธิ์ดุจเลื่อนลอยมาโดยนภากาศแล้วแลตกลงในทีประชุมสงฆ์ จะได้จำเพาะเจาจงลงว่าเป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งก็หามิได้ มีพระบรมพุทธานุญาตไว้ว่า ให้พระสงฆ์ทั้งปวงยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อจะทำซึ่งกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาต และมีคำพระอรรถกถาจารย์ ผู้รู้พระบรมพุทธาธิบายสังวรรณนาไว้ว่า ภิกษุรูปใดประกอบด้วยศีลสุตาธิคุณ มีสติปัญญาสามารถ รู้ธรรม ๘ ประการ มีบุพกิจ เป็นต้น ภิกษุรูปนั้นจึงสมควร เพื่อจะกระทำกฐินนัตถารกิจ ตามพระบรมพุทธานุญาตได้
               บัดนี้พระสงฆ์ทั้งปวงจะเห็นสมควรแก่ภิกษรูปใดจงพร้อมกันยอมอนุญาตให้แก่ภิกษุรูปนั้นเทอญ.
               (ไม่ต้อง สาธุ)
         รูปที่ ๒
.........ผ้ากฐินทาน กับทั้งผ้าอานิสังสบริวารทั้งปวงนี้ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นสมควรแก่...................เป็นผู้มีสติปัญญาสามารถ เพื่อกระทำกฐินนัตถารกิจให้ถูกต้องตามพระบรมพุทธานุญาตได้ ถ้าพระภิกษุรูปใดเห็น
ไม่สมควรทักท้วงขึ้นในท่ามกลางระหว่างสงฆ์ (หยุดนิดหนึ่ง) ถ้าเห็นสมควรแล้วไซร้จงให้สัททสัญญาสาธุการะขึ้นให้พร้อมกัน เทอญ.             (สาธุ)


แบบกรรมวาจาสวดให้ผ้ากฐิน
                                    นะโม  ตัสสะ   ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ,
                                    นะโม  ตัสสะ,  ภะคะวะโต  อะระหะโต  สัมมาสัมพุทธัสสะ,
                                    นะโม  ตัสสะ,  ภะคะวะโต, อะระหะโต  สัมม, สัมพุทธัสสะ,
                                 สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ,  อิทัง สังฆัสสะ  กะฐินะจีวะระทุสสัง  อุปปันนัง,
                    ยะทิ  สังฆัสสะ  ปัตตะกัลลัง,  สังโฆ  อิมัง  กะฐินะจีวะระทุสสัง  ขันติพะลัสสะ 
                   ภิกขุโน  ทะเทยยะ,  กะฐินัง  อัตถะริตุง,  เอสา ญัตติ.
                                สุณาตุ  เม  ภันเต  สังโฆ, อิทัง สังฆัสสะ กะฐินะจีวะระทุสสัง  อุปปันนัง,
                   สังโฆ  อิมัง  กะฐินะจีวะระทุสสัง   ขันติพะลัสสะ  ภิกขุโน,   เทติ,  กะฐินัง
                  อัตถะริตุง,  ยัสสายัส๎มะโต  ขะมะติ,  อิมัสสะ  กะฐินะจีวะระทุสสัสสะ,
                  ขันติพะลัสสะ   ภิกขุโน,   ทานัง,      กะฐินัง  อัตถะริตุง, โส  ตุณหัส๎สะ 
                  ยัสสะ  นักขะมะติ, โส ภาเลยยะ
                               ทินนัง อิทัง สังเฆนะ, กะฐินะจีวะระทุสสัง  ขันติพะลัสสะ   ภิกขุโน.  
                  กะฐินัง อัตถะริตุง,   ขะมะติ  สังฆัสสะ  ตัสมา  ตุณ๎หี,    เอวะเมตัง  ธาระยามิ.
                                                             
                                                                คำอธิษฐานผ้ากฐิน
                                                สังฆาฏิ    อิมายะ  สังฆาฏิยา  กะฐินัง  อัตถะรามิ                   (๓ หน)
                                                อุตตราสงค์              อิมินา  อุตตะราสังเคนะ  กะฐินัง  อัตถะรามิ                          (๓ หน)
                                                อันตรวาสก              อิมานา  อันตะระวาสะเกนะ  กะฐินัง  อัตถะรามิ   (๓ หน)
คำอนุโมทนากฐิน
                                                อัตถะตัง อาวุโส สังฆัสสะ กะฐินัง ธัมมิโก กะฐินัตถาโร  อะนุโมทะถะ  (๓ หน )
                        นี้สำหรับท่านผู้ครองกฐินมีพรรษาแก่กว่าภิกษุทั้งปวง
                                ถ้ามีภิกษุอื่นที่มีพรรษามากกว่าท่านผู้ครองกฐินอยู่ ในที่นั้นให้ เปลี่ยนคำว่า
                                อาวุโส  เป็น  ภันเต   แล้วให้พระสงฆ์ทั้งปวงเปล่งวาจาอนุโมทนาต่อไปว่า
                                                อัตถะตัง  ภันเต  สังฆัสสะ  กะฐินัง  ธัมมิโก  กะฐินัตถาโร  อะนุโมทามะ (๓ หน)
                        นี้สำหรับผู้อ่อนพรรษากว่าท่านผู้ครองกฐินกล่าว
                                ถ้ามีภิกษุที่แก่พรรษากว่าท่านผู้ครองกฐินอยู่ในที่นั้น   กี่รูปก็ตามให้ผู้แก่เหล่านั้น
                                เปลี่ยนคำว่า  ภันเต  เป็น  อาวุโส  หรือจะให้ว่าพร้อมกันเฉพาะผู้แก่เสียคราวหนึ่ง
                                ก่อน ๓ จบ   แล้วจึงให้ผู้อ่อนกว่าว่าอีกคราวหนึ่ง ๓ จบ ก็ได้
 

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถม หลวงปู่รอด

ประวัติหลวงป่รอด
              หลวงปู่รอด พุทฺธสณฺโฑ ท่านเป็นชาวจังหวัดปทุมธานี  มีเชื้อสายรามัญ ในวัยเด็กท่านมีร่างกายอ่อนแอสุขภาพไม่ค่อยดี บิดามารดามีความศรัทธาในหลวงปู่แค ได้มอบท่านให้เป็นศิษย์วัด หลวงปู่แคท่านก็รับไว้ในอุปการะและตั้งชื่อให้ว่า "รอด” คือมีชีวิตอยู่รอดปลอดภัยจากโรคภัยต่าง ๆ เพราะถ้าหลวงปู่แคไม่รับไว้คงมีอายุไม่ยืนนาน เมื่ออยู่ก็ได้ช่วยงานต่าง ๆ ในวัด บรรพชาแล้วได้ศึกษาวิชาจากหลวงปู่แคซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบท ขณะที่บวชอยู่ได้ศึกษาวัตรและปฏิบัติกิจต่าง ๆ เป็นอย่างดี ได้ศึกษาวิชาอาคมจากหลวงปู่แคจนเชี่ยวชาญ พอมีพรรษาพ้นแล้วได้ลาออกไปธุดงค์ตามป่าเขาต่าง ๆ โดยเฉพาะชายแดนเขตจังหวัดกาญจนบุรี เข้าด่านเจดีย์สามองค์ไปศึกษาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งตำรายาพื้นบ้าน วิชาป้องกันตัวจากคุณไสย์ต่าง ๆ จนมีชื่อเสียงในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเมตตามหานิยม  พระบางรูปกล่าวว่า หลวงปู่รอดเป็นพระอภิญญามีฤทธิ์ต่าง ๆ พอหลวงปู่แคมรณภาพแล้ว หลวงปู่รอดได้เป็นเจ้าอาวาสแทน เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้วได้ก่อสร้างสิ่งต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ในทางพระพุทธศาสนาหลายอย่าง บูรณะปฏิสังขรณ์พัฒนาพื้นที่ในวัดให้ร่มรื่นสวยงามน่าชม เช่น สร้างโบสถ์วัดบางน้ำวน โรงเรียน พระเจดีย์ มณฑปรอยพระพุทธบาท ศาลาท่าน้ำ ฯลฯ ที่วัดอื่น ๆ ใกล้เคียงเช่นวัดบางกระเจ้า วัดบางไผ่เตี้ย วัดชีผ้าขาว และที่วัดบางจะเกร็งเมืองแม่กลองก็ได้ไปร่วมสร้างสิ่งต่างๆ ไว้มาก  หลวงปู่รอดท่านได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ให้อุปสมบทกุลบุตร และ ที่พิเศษคือท่านให้อุปสมบทได้ทั่วประเทศไทย มีผู้ที่นิมนต์ไปเป็นพระอุปัชฌาย์ในต่างถิ่น  เช่นที่เมืองแม่กลอง    เมืองปทุมธานีเป็นต้น  ท่านมีลูกศิษย์มากมายทั่วไปแต่เป็นพระอุปัชฌาย์ให้อุปสมบทแล้ว จะไม่ยอมสึกให้ใครเด็ดขาด พระภิกษุในวัดถ้าจะลาสิกขา ต้องให้พระอาจารย์รูปอื่นทำพิธีสึกให้ หรือต้องไปลาสิกขาที่วัดใกล้เคียง

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถม อานิสงส์ทอดกฐิน

อานิสงส์ทอดกฐิน
อานิสงส์สำหรับพระภิกษุ
๑.  อนามนฺตจาโร   เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องบอกลาพระภิกษุ   
๒.  สมาทานจาโร   เที่ยวไปโดยไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ
๓.  คณโภชนํ          ฉันคณะโภชนะ และ ปรัมปรโภชนะได้               
๔. ยาวทตฺถจีวรํ       เก็บอติเรกจีวร และ กาลจีวรได้
๕.โย    ตตฺถ  จีวรุปฺปาโท    จีวรที่เกิดขึ้นเป็นของได้แก่พวกเธอ   ทั้งยังได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปอีก    เดือน
อานิสงส์สำหรับทายก
ในที่นี้จะยกอุทาหรณ์มาสาธกไว้เพื่อชี้ให้เห็นว่า  ผู้ที่ทำบุญถวายทานเพียงน้อยนิด  แต่ด้วยอำนาจบริสุทธิ์   ก็ได้บุญกุศลมีมากดังนี้
                 เรื่องมีอยู่ว่า    เมื่อครั้งศาสนาของพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า  มีบุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง  เป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง   ได้ไปขออาศัยท่านเศรษฐี   ชื่อว่าศิริธรรม    ท่านเศรษฐีเป็นผู้มั่งคั่งไปด้วยทรัพย์นับได้ ๘๐ โกฏิ  โดยไปเป็นคนรับใช้อาศัยอยู่กินหลับนอนในบ้านของท่านเศรษฐี    ด้วยความกรุณาสงสารท่านเศรษฐีก็รับไว้ให้เป็นคนเฝ้าไร่หญ้า    ครั้นต่อมา   เมื่อได้ทำงานเป็นคนรักษาหญ้านั้นแล้ว   จึงได้มีชื่อว่า  ติณบาล   วันหนึ่งเขาได้คิดได้ว่า    ที่ตนเองต้องเป็นคนยากจนเช่น  นี้คงเป็นเพราะไม่เคยทำบุญถวายทานอันใดไว้ในชาติก่อนเลย     มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้รับใช้คนอื่นไร้ญาติขาดมิตร   ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่นิดเดียว      เมื่อคิดดังนี้แล้ว      จึงได้แบ่งอาหารที่ได้รับจากท่าน  เศรษฐีออกเป็น ๒ ส่วน     ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ผู้เที่ยวบิณฑบาตทุกเช้า  อีกส่วนหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับตนเองรับประทาน   ทำอยู่อย่างนี้ เป็นเวลานาน  ท่านเศรษฐีเกิดสงสารจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นอีก  เขาได้แบ่ง อาหารทั้งหมดออกเป็น ๓ ส่วน    ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง   อีกส่วน   หนึ่งให้แก่คนยากจนเอาไปกิน    ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตน    
                ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้ว      ท่านศิริธรรมเศรษฐีซึ่งเป็นนายของเขาก็ตระเตรียมจะทอดกฐิน        จึงประกาศให้คนในบ้านได้มีส่วนร่วม กุศลด้วย   เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดเลื่อมใสขึ้นในใจทันที  จึงเข้าไปกราบเรียนถามท่านเศรษฐีว่า      กฐินทานมีอานิสงส์อย่างไร     เศรษฐีก็ ตอบให้ฟังว่า  มีอานิสงส์มาก  สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาว่า    เป็นทานอันประเสริฐ   เมื่อเขาได้ทราบดังนั้น    ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มยินดียิ่งนัก         แต่เมื่อกลับมายังที่พักของตนแล้วก็ต้องกลัดกลุ้ม   ด้วยว่าไม่มีสมบัติอะไรเลยที่จะไปร่วมทำบุญกับทานเศรษฐีได้     ยิ่งคิดก็ยิ่งอัดอั้นตันปัญญา        หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากับท่านเศรษฐีไม่ได้  ในที่สุด   เขาจึงตัดสินใจเปลื้องผ้านุ่งห่มของตนออกพับให้ดี    แล้วเย็บ ใบไม้นุ่งแทน   จากนั้นจึงเอาผ้าไปเที่ยวเร่ขายในตลาด    ประชาชนเห็น  เข้าก็พากันหัวเราะเยาะพูดถากถางต่าง ๆ  นานา    เขาตอบว่า   ท่านทั้ง หลายอย่าหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเลย   ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่งจะขอนุ่ง ใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้นชาติต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะนุ่งผ้าทิพย์  ครั้นแล้ว  ออกเดินเร่ขายในตลาด   ที่สุดก็ขายผ้านั้นได้ในราคา ๕ มาสก (๑ บาท)      เขาจึงรีบเอาเงินที่ได้ไปให้ท่านเศรษฐี   ท่านเศรษฐีจึงใช้ซื้อด้ายสำหรับเย็บจีวร      ด้วยเหตุนี้      เกียรติศักดิ์และเกียรติคุณที่เขาทำบุญจึงได้ลือกระฉ่อนไปในหมู่บ้าน   จนกระทั่งถึงสวรรค์ชั้นฟ้า  ถึงเทวดาในกามา- พจรสวรรค์        แม้พระอินทร์ก็เสด็จมาอนุโมทนาในส่วนบุญของเขา   และประทานโอกาสให้เขาขอพร ๔ ประการ       ติณบาลแม้จะเป็นคน  ยากจนแต่ก็เจียมเนื้อเจียมตัว   ได้ทูลขอพรว่า
       ๑.ขออย่าได้ลุอำนาจแก่อิสตรี                ๒.ขออย่าได้ตระหนี่ในการให้ทาน   
       ๓.ขออย่าได้มีคนพาลเป็นมิตร              ๔.ขอให้ได้ใกล้ชิดภรรยาที่มีศีล
เมื่อพระอินทร์ได้ตรัสถามถึงเหตุผลของพรแต่ละข้อ  ที่เขาทูลขอว่า    ทำไมจึงไม่ขอสมบัติให้ตนเป็นคนร่ำรวย  ทั้ง ๆ ที่ตนก็เป็นคนจนที่สุดอยู่แล้ว   ติณบาลก็ชี้แจงให้ทราบว่าการที่ขอให้ตนเป็นคนมีคุณธรรมและขอให้คนรอบข้างเป็นคนดีนั้น     นับว่าเป็นทรัพย์สุดประเสริฐแล้ว     เมื่อพระอินทร์ทราบเหตุผลแล้วจึงได้เสด็จกลับ
                  ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีก็ทรงทราบเหตุที่นายติณบาลทำบุญเช่นกัน   จึงรับสั่งให้นำเขาเข้าเฝ้า   แต่เขาก็ไม่ยอมเฝ้า   เพราะความละอายที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม  พระราชาจึงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขาจึงยอมเข้าเฝ้า   ครั้นเมื่อพระราชาได้ทรงอนุโมทนาส่วนบุญแล้ว     ยังได้พระราชทานบ้านเรือน     ทรัพย์สมบัติ   บ้าน   ม้า  วัว  ควาย  ทาสี  ทาสา  ให้แก่เขาเป็นอันมาก   เขานึกถึงบุญคุณของความดี แล้วจึงได้ทำบุญเป็นการใหญ่      พยายามสร้างฐานะจนได้เป็นเศรษฐี ในกาลต่อ ๆ มา    ครั้นเศรษฐีดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแล้ว   เมื่อตายไป ได้เกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีนางอัปสรจำนวนหนึ่งเป็นบริวาร   มีความสุขอันเป็นทิพย์ทุกอย่าง  ส่วนท่านศิริธรรมเศรษฐีครั้น ตายจากโลกมนุษย์แล้ว  ได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์มีความสุขอันเป็น  ทิพย์เช่นเดียวกัน      อานิสงส์แห่งการถวายกฐินทานดังกล่าวมาแล้วนี้      แม้จะทำทานเพียงเล็กน้อย       แต่ผู้ทำประกอบด้วยศรัทธาและเจตนา  อันแรงกล้าสร้างศรัทธาความเชื่อให้มั่นคง       ดังเช่นนายติณบาลเป็นตัวอย่าง    ทุกท่านก็ย่อมจะประสบความสุขที่มนุษย์พึงปรารถนาอย่าง แน่นอน    ทั้งมนุษย์สมบัติ   สวรรค์สมบัติ   และนิพพานสมบัติเพราะฉะนั้นผู้เป็นพุทธบริษัทจึงไม่ควรท้อ  และดูหมิ่นบุญกุศล ที่ตนได้ทำลงไปว่าน้อย  เราสร้างบุญได้ไม่มากเหมือนคนอื่นเขาทำกัน  ขอจงอิ่มใจในบุญกุศลที่ได้ทำลงไป      เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน   จึงขอนำพระพุทธพจน์บทหนึ่งมารับรอง    เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ไตร่ตรองไว้ใน  ดวงจิต    สมดังพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ว่า   
                        มาวมญฺเ   ปุญฺสฺส             มตฺตํ   อาคมิสฺสติ
                        อุทพินฺทุนิปาเตน                    อุทกุมฺโภปิ   ปูรติ
                        ปูรติ   ธีโร   ปุญฺสฺส             โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ ฯ
                  บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า    เล็กน้อยจักไม่ให้ผล   แม้หม้อน้ำยัง
                 เต็มด้วยน้ำที่หยดลงทีละหยาดฉันใด       ผู้มีปัญญาสะสมบุญไป  
                  เรื่อย ๆ  ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น ฯ