วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถม อานิสงส์ทอดกฐิน

อานิสงส์ทอดกฐิน
อานิสงส์สำหรับพระภิกษุ
๑.  อนามนฺตจาโร   เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องบอกลาพระภิกษุ   
๒.  สมาทานจาโร   เที่ยวไปโดยไม่ต้องเอาจีวรไปครบสำรับ
๓.  คณโภชนํ          ฉันคณะโภชนะ และ ปรัมปรโภชนะได้               
๔. ยาวทตฺถจีวรํ       เก็บอติเรกจีวร และ กาลจีวรได้
๕.โย    ตตฺถ  จีวรุปฺปาโท    จีวรที่เกิดขึ้นเป็นของได้แก่พวกเธอ   ทั้งยังได้โอกาสขยายเขตจีวรกาลออกไปอีก    เดือน
อานิสงส์สำหรับทายก
ในที่นี้จะยกอุทาหรณ์มาสาธกไว้เพื่อชี้ให้เห็นว่า  ผู้ที่ทำบุญถวายทานเพียงน้อยนิด  แต่ด้วยอำนาจบริสุทธิ์   ก็ได้บุญกุศลมีมากดังนี้
                 เรื่องมีอยู่ว่า    เมื่อครั้งศาสนาของพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า  มีบุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง  เป็นคนเข็ญใจไร้ที่พึ่ง   ได้ไปขออาศัยท่านเศรษฐี   ชื่อว่าศิริธรรม    ท่านเศรษฐีเป็นผู้มั่งคั่งไปด้วยทรัพย์นับได้ ๘๐ โกฏิ  โดยไปเป็นคนรับใช้อาศัยอยู่กินหลับนอนในบ้านของท่านเศรษฐี    ด้วยความกรุณาสงสารท่านเศรษฐีก็รับไว้ให้เป็นคนเฝ้าไร่หญ้า    ครั้นต่อมา   เมื่อได้ทำงานเป็นคนรักษาหญ้านั้นแล้ว   จึงได้มีชื่อว่า  ติณบาล   วันหนึ่งเขาได้คิดได้ว่า    ที่ตนเองต้องเป็นคนยากจนเช่น  นี้คงเป็นเพราะไม่เคยทำบุญถวายทานอันใดไว้ในชาติก่อนเลย     มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะเป็นผู้รับใช้คนอื่นไร้ญาติขาดมิตร   ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่นิดเดียว      เมื่อคิดดังนี้แล้ว      จึงได้แบ่งอาหารที่ได้รับจากท่าน  เศรษฐีออกเป็น ๒ ส่วน     ส่วนหนึ่งถวายแก่พระสงฆ์ผู้เที่ยวบิณฑบาตทุกเช้า  อีกส่วนหนึ่งที่เหลือไว้สำหรับตนเองรับประทาน   ทำอยู่อย่างนี้ เป็นเวลานาน  ท่านเศรษฐีเกิดสงสารจึงให้อาหารเพิ่มขึ้นอีก  เขาได้แบ่ง อาหารทั้งหมดออกเป็น ๓ ส่วน    ถวายแก่พระสงฆ์ส่วนหนึ่ง   อีกส่วน   หนึ่งให้แก่คนยากจนเอาไปกิน    ส่วนที่สามเอาไว้บริโภคสำหรับตน    
                ต่อมาเมื่อออกพรรษาแล้ว      ท่านศิริธรรมเศรษฐีซึ่งเป็นนายของเขาก็ตระเตรียมจะทอดกฐิน        จึงประกาศให้คนในบ้านได้มีส่วนร่วม กุศลด้วย   เมื่อนายติณบาลได้ยินก็เกิดเลื่อมใสขึ้นในใจทันที  จึงเข้าไปกราบเรียนถามท่านเศรษฐีว่า      กฐินทานมีอานิสงส์อย่างไร     เศรษฐีก็ ตอบให้ฟังว่า  มีอานิสงส์มาก  สมเด็จพระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาว่า    เป็นทานอันประเสริฐ   เมื่อเขาได้ทราบดังนั้น    ก็มีความโสมนัสปลาบปลื้มยินดียิ่งนัก         แต่เมื่อกลับมายังที่พักของตนแล้วก็ต้องกลัดกลุ้ม   ด้วยว่าไม่มีสมบัติอะไรเลยที่จะไปร่วมทำบุญกับทานเศรษฐีได้     ยิ่งคิดก็ยิ่งอัดอั้นตันปัญญา        หาสิ่งที่จะร่วมอนุโมทนากับท่านเศรษฐีไม่ได้  ในที่สุด   เขาจึงตัดสินใจเปลื้องผ้านุ่งห่มของตนออกพับให้ดี    แล้วเย็บ ใบไม้นุ่งแทน   จากนั้นจึงเอาผ้าไปเที่ยวเร่ขายในตลาด    ประชาชนเห็น  เข้าก็พากันหัวเราะเยาะพูดถากถางต่าง ๆ  นานา    เขาตอบว่า   ท่านทั้ง หลายอย่าหัวเราะเยาะข้าพเจ้าเลย   ข้าพเจ้ายากจนไม่มีผ้าจะนุ่งจะขอนุ่ง ใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้นชาติต่อ ๆ ไป ข้าพเจ้าจะนุ่งผ้าทิพย์  ครั้นแล้ว  ออกเดินเร่ขายในตลาด   ที่สุดก็ขายผ้านั้นได้ในราคา ๕ มาสก (๑ บาท)      เขาจึงรีบเอาเงินที่ได้ไปให้ท่านเศรษฐี   ท่านเศรษฐีจึงใช้ซื้อด้ายสำหรับเย็บจีวร      ด้วยเหตุนี้      เกียรติศักดิ์และเกียรติคุณที่เขาทำบุญจึงได้ลือกระฉ่อนไปในหมู่บ้าน   จนกระทั่งถึงสวรรค์ชั้นฟ้า  ถึงเทวดาในกามา- พจรสวรรค์        แม้พระอินทร์ก็เสด็จมาอนุโมทนาในส่วนบุญของเขา   และประทานโอกาสให้เขาขอพร ๔ ประการ       ติณบาลแม้จะเป็นคน  ยากจนแต่ก็เจียมเนื้อเจียมตัว   ได้ทูลขอพรว่า
       ๑.ขออย่าได้ลุอำนาจแก่อิสตรี                ๒.ขออย่าได้ตระหนี่ในการให้ทาน   
       ๓.ขออย่าได้มีคนพาลเป็นมิตร              ๔.ขอให้ได้ใกล้ชิดภรรยาที่มีศีล
เมื่อพระอินทร์ได้ตรัสถามถึงเหตุผลของพรแต่ละข้อ  ที่เขาทูลขอว่า    ทำไมจึงไม่ขอสมบัติให้ตนเป็นคนร่ำรวย  ทั้ง ๆ ที่ตนก็เป็นคนจนที่สุดอยู่แล้ว   ติณบาลก็ชี้แจงให้ทราบว่าการที่ขอให้ตนเป็นคนมีคุณธรรมและขอให้คนรอบข้างเป็นคนดีนั้น     นับว่าเป็นทรัพย์สุดประเสริฐแล้ว     เมื่อพระอินทร์ทราบเหตุผลแล้วจึงได้เสด็จกลับ
                  ฝ่ายพระเจ้าพาราณสีก็ทรงทราบเหตุที่นายติณบาลทำบุญเช่นกัน   จึงรับสั่งให้นำเขาเข้าเฝ้า   แต่เขาก็ไม่ยอมเฝ้า   เพราะความละอายที่ไม่มีเครื่องนุ่งห่ม  พระราชาจึงให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่เขาจึงยอมเข้าเฝ้า   ครั้นเมื่อพระราชาได้ทรงอนุโมทนาส่วนบุญแล้ว     ยังได้พระราชทานบ้านเรือน     ทรัพย์สมบัติ   บ้าน   ม้า  วัว  ควาย  ทาสี  ทาสา  ให้แก่เขาเป็นอันมาก   เขานึกถึงบุญคุณของความดี แล้วจึงได้ทำบุญเป็นการใหญ่      พยายามสร้างฐานะจนได้เป็นเศรษฐี ในกาลต่อ ๆ มา    ครั้นเศรษฐีดำรงชีวิตอยู่พอสมควรแล้ว   เมื่อตายไป ได้เกิดเป็นเทพบุตรในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มีนางอัปสรจำนวนหนึ่งเป็นบริวาร   มีความสุขอันเป็นทิพย์ทุกอย่าง  ส่วนท่านศิริธรรมเศรษฐีครั้น ตายจากโลกมนุษย์แล้ว  ได้ไปเกิดในดาวดึงส์สวรรค์มีความสุขอันเป็น  ทิพย์เช่นเดียวกัน      อานิสงส์แห่งการถวายกฐินทานดังกล่าวมาแล้วนี้      แม้จะทำทานเพียงเล็กน้อย       แต่ผู้ทำประกอบด้วยศรัทธาและเจตนา  อันแรงกล้าสร้างศรัทธาความเชื่อให้มั่นคง       ดังเช่นนายติณบาลเป็นตัวอย่าง    ทุกท่านก็ย่อมจะประสบความสุขที่มนุษย์พึงปรารถนาอย่าง แน่นอน    ทั้งมนุษย์สมบัติ   สวรรค์สมบัติ   และนิพพานสมบัติเพราะฉะนั้นผู้เป็นพุทธบริษัทจึงไม่ควรท้อ  และดูหมิ่นบุญกุศล ที่ตนได้ทำลงไปว่าน้อย  เราสร้างบุญได้ไม่มากเหมือนคนอื่นเขาทำกัน  ขอจงอิ่มใจในบุญกุศลที่ได้ทำลงไป      เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน   จึงขอนำพระพุทธพจน์บทหนึ่งมารับรอง    เพื่อท่านผู้อ่านจะได้ไตร่ตรองไว้ใน  ดวงจิต    สมดังพุทธภาษิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ ว่า   
                        มาวมญฺเ   ปุญฺสฺส             มตฺตํ   อาคมิสฺสติ
                        อุทพินฺทุนิปาเตน                    อุทกุมฺโภปิ   ปูรติ
                        ปูรติ   ธีโร   ปุญฺสฺส             โถกํ  โถกํปิ  อาจินํ ฯ
                  บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า    เล็กน้อยจักไม่ให้ผล   แม้หม้อน้ำยัง
                 เต็มด้วยน้ำที่หยดลงทีละหยาดฉันใด       ผู้มีปัญญาสะสมบุญไป  
                  เรื่อย ๆ  ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น ฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น