วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมการสอนศีลธรรมในโรงเรียนระดับประถมศึกษา สัปปุริสธรรม ๗

สัปปุริสธรรม ๗ ประการ
คำว่า สัปปุริสธรรม  แปลว่า ธรรมะของคนดี หมายความว่า ผู้ใดมีธรรมเหล่านี้แล้ว  ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นคนดี    คนดีที่พระพุทธศาสนายกย่อง  มิได้เป็นคนงมงายหรือเป็นคนซื่อจนเซ่อ  แต่เป็นคนฉลาดมีเหตุผล  รู้จักใช้ความคิด  วางตัวได้ดีและมีมนุษย์สัมพันธ์เหมาะสม  สัปปุริสธรรมมี  ๗ ประการ  ดังนี้
                )  อัตถัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาเหตุของสถานการณ์และความเป็นไปของชีวิต
                )  ธัมมัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์สาระและผลอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว
                )  อัตตัญญุตา  คือ             ความเป็นผู้รู้จักวิเคราะห์ตนเองทั้งในด้านความรู้  คุณธรรม และความสามารถ
                )  มัตตัญญุตา คือ              ความเป็นผู้รู้จักหลักของความพอดี  การดำเนินชีวิตพอเหมาะพอควร 
                )  กาลัญญุตา  คือ              ความเป็นรู้จักปฏิบัติตนให้ถูกกาลเทศะ
                )  ปริสัญญุตา  คือ              ความเป็นผู้รู้ปฏิบัติ  การปรับและแก้ไขตนให้เหมาะกับสภาพกลุ่มและชุมชน
                )  ปุคคลัญญุตา คือ           ความเป็นผู้รู้จักปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
 ไตรสิกขา
                                เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกิดความตั้งใจดีและมีมือสะอาด  นักบริหารต้องประกอบตนไว้ใน
ไตรสิกขาข้อที่ต้องสำเหนียก    ประการ คือ
                                                ๑.   ศีล                    การรักษากายวาจาใจให้   เป็นเครื่องสนับสนุนให้กาย (มือ) สะอาด
                                                ๒.  สมาธิ               เป็นเครื่องสนับสนุนให้ใจสงบ
                                                ๓.  ปัญญา             เป็นเครื่องทำให้ใจสว่าง  รู้ถูก  รู้ผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น